เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ถึงการเสพกับหญิงมนุษย์เล่า ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย
คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น
เชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนคนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยการต่อ
ศรีษะเข้ากับร่างกายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

บทภาชนีย์
มรรคภาณวาร

[56] หญิง 3 จำพวก คือ หญิงมนุษย์ หญิงอมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
อุภโตพยัญชนก1 3 จำพวก คือ อุภโตพยัญชนกที่เป็นมนุษย์ อุภโตพยัญชนก
ที่เป็นอมนุษย์ และอุภโตพยัญชนกที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
บัณเฑาะก์2 3 จำพวก คือ บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์
บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ชาย 3 จำพวก คือ ชายที่เป็นมนุษย์ ชายที่เป็นอมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้

หญิง 3 จำพวก มีพวกละ 3 ทวาร

ภิกษุเสพเมถุนธรรมกับหญิงมนุษย์ 3 ทาง คือ ทวารหนัก ทวารเบา ปาก
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเสพเมถุนธรรมกับหญิงอมนุษย์ ... กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย 3 ทาง คือ

เชิงอรรถ :
1 อุภโตพยัญชนก แปลว่า คนมี 2 เพศ คือมีสัญลักษณ์ทั้งที่เป็นเพศชายและเพศหญิง
2 บัณเฑาะก์ หมายถึง ขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันสกฤตแปลว่า กะเทย
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :43 }